วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พิธีกรรม

โดยทั่วไปประเพณีการทำบุญบั้งไฟนั้นถือเป็นงานที่สนุกสนาน ความเชื่อในผีแถน บั้งไฟทำด้วยท่อไม้บรรจุดินปืนโดยการอัดให้แน่น มีความยาวประมาณสองเมตร ใช้ลำไม้ไผ่ต่อหางให้ได้สัดส่วน ก่อนนำบั้งไฟไปจุดต้องประดับตกแต่งให้เกิดความสวยงาม โดยใช้ลูกเอ้ผูกประกอบเข้าไป ใช้กระดาษสีตัดให้เป็นลวดลายตกแต่งตามเลาบั้งไฟและส่วนหางอย่างวิจิตร ส่วนหัวบั้งไฟทำเป็นรูปพญานาคตามคติความเชื่อเรื่องพญานาคให้น้ำ จากนั้นก็นำไปแห่รอบ ๆ หมู่บ้านอย่างสนุกสนาน



พิธีกรรมบุญบั้งไฟ

การแห่บั้งไฟนั้นคนเฒ่าคนแก่และหนุ่มสาวจะร่ายรำไปตามจังหวะดนตรีพื้นบ้านอันเร้าใจ โดยทั่วไปแล้วจะมีการร้องร่ายกาพย์เซิ้งที่บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ ซึ่งกาพย์เซิ้งบั้งไฟเหล่านี้ปราชญ์ชาวบ้านได้ร่วมกันแต่งขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความบันเทิงอย่างเต็มที่ก่อนที่จะได้ลงมือปฏิบัติภารกิจปักดำข้าวกล้าอันเป็นงานหนักในท้องทุ่งนาต่อไป เมื่อแห่บั้งไฟมาถึงที่ซึ่งได้นัดหมายกันแล้วชาวบ้านก็จะรวมบั้งไฟจากคุ้มต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้วจัดงานฉลองในคืนวันนั้น รุ่งขึ้นจึงจุดบั้งไฟ บั้งที่จุดก่อนเรียกว่า "บั้งไฟเสี่ยง" เพื่อดูว่าปีนี้ฝนจะตกตามฤดูกาลหรือไม่ ถ้าบั้งไฟขึ้นดีแสดงว่าฝนจะดี ถ้าไม่ขึ้นก็ตรงกันข้าม แล้วจากนั้นจึงจุดบั้งไฟแข่งซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านมีความสนุกสนานกันมาก มีการเล่นโคลนตมกันอย่างมอมแมมอีกด้วย
            บุญบั้งไฟถือเป็นสาระของความสนุกสนานที่แฝงไว้ด้วยความเชื่อถือศรัทธาที่มีมาอย่างยาวนาน กิจกรรมทั้งหมดของประเพณีนี้ได้ถ่ายทอดความรู้สึก ภูมิปัญญาของชุมชนในเรื่องเทคโนโลยีพื้นบ้าน การเลือกไม้ไผ่มาทำบั้งไฟ การตัดไม้ไผ่โดยไม่เป็นอันตราย การบรรจุดินปืนลงกระบอกไม้ไผ่ ล้วนเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมสืบกันมา การตกแต่งบั้งไฟเป็นงานศิลปะ การเซิ้ง การรับลำ และความเชื่อในผีแถน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น